team logo

โรงเรียนบ้านท่าศาลาประชารังสรรค์

จังหวัดขอนแก่น
คุณครูผู้รับผิดชอบ: นางวนิชา อุดคำเที่ยง
ธ.ก.ส.ที่รับผิดชอบ: นางชุติมา เยี่ยมนิคม
คะแนนรอบแรก: 38.815


คะแนนโหวต: 192

ขณะนี้ปิดการโหวตรอบคัดเลือกแล้ว

infographic

ประวัติการจัดตั้งโรงเรียนธนาคาร

โรงเรียนธนาคารบ้านท่าศาลาประชารังสรรค์  มีการออมทรัพย์ครั้งแรกในปี  2546  โดยมีการออมทรัพย์นำร่องในชั้นประถมศึกษาปีที่  4  และ 5  ก่อน จากนั้นในปี  2547 ก็ได้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์จากชั้นอนุบาลปีที่  1 – มัธยมศึกษาปีที่  3 มีมียอดเงินฝาก  900,000  กว่าบาท    จนถึงปี  2548 ในปี  2549  ได้เชิญเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สาขาพระยืนได้เข้ามาเปิดบัญชีให้นักเรียน และมีครูที่รับผิดชอบนำเงินเข้าฝากธนาคารทุกวันศุกร์ของสัปดาห์  เงินฝากประมาณ 6  แสนกว่าบาท    ดังนั้นจึงได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้ครูในโรงเรียนเข้ารับการอบรมระบบธนาคาร และมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา  ทำพิธีเปิดโรงเรียนธนาคารในวันที่  14 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2560  ปัจจุบันมียอดเงินฝากประมาณ  490,000  กว่าบาท โดยมีข้าราชการครูและบุคลากรทำการศึกษา นักเรียนทุกคน  เปิดบัญชี  เงินที่นักเรียนนำมาฝากได้มาจาก  

๑.ผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร  นักเรียนจะได้เงินมาโรงเรียนเฉลี่ยวันละ  ๓๐ บาท โดยนักเรียนจะแบ่งฝากและซื้อขนมจากสหกรณ์ร้านค้า

๒.เงินปันผลจากสหกรณ์ร้านค้า  โดยสหกรณ์ร้านค้าจะมีการปันผลและเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิกปีละ  ๒ ครั้ง นักเรียนก็จะนำเงินที่ได้แบ่งมาฝากกับโรงเรียนธนาคาร 

๓.เงินหารายได้ระหว่างเรียน  นักเรียนจะนำพืชผักสวนครัวที่ปลูกในโรงเรียน   กิจกรรมแปรรูปการผลิต  เช่น กล้วยฉาบ  ปั้นขลิบ  หม่ำหมู ส้มหมู  ขนมโตเกียว  หมี่กรอบ และขายไข่ไก่ จำหน่ายผ่านสหกรณ์ร้านค้าและชุมชน เงินที่ได้ก็จะแบ่งมาฝากกับโรงเรียนธนาคาร

๔.เงินรางวัลต่าง ๆ  ได้มาจาก เงินทุนการศึกษา นักเรียนเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม การแข่งขันกีฬาเงินที่ได้ก็จะแบ่งมาฝากกับโรงเรียนธนาคาร

 

เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนเก็บเงินออมทรัพย์ในระหว่างเป็นนักเรียน  ให้ได้ปฏิบัติจริงเพื่อเสริมความเข้าใจ  เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนมีนิสัยรักการออม  รู้จักประหยัด

การดำเนินงานโรงเรียนธนาคาร

1.รับฝากเงินจากสมาชิกโดยคณะกรรมการ ตั้งแต่อนุบาล–  ม. ทุกวัน

2. เปิดบัญชีฝากกับโรงเรียนธนาคารตามความสมัครใจ

3. คณะกรรมที่รับผิดชอบนำเงินฝากกับธนาคารทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

4.  สิ้นปีรับดอกเบี้ยเงินเงินฝากจากธนาคาร 

 

ผลที่เกิดขึ้นของโรงเรียนธนาคาร

1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม(เศรษฐศาสตร์)สูงขึ้น

2. นักเรียนมีทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบแบบแผน

3. นักเรียนมีพฤติกรรมในการประหยัดอดออม  ซื่อสัตย์  และ ตรงเวลา

4. นักเรียนภูมิใจในอาชีพสุจริต ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรักษาสิ่งแวดล้อม

5.นักเรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนได้